การปฏิบัติตัวของมารดาและทารกหลังคลอด
เผยแพร่วันที่ : 14 มี.ค. 2568
อ่านเฉลี่ย : 3 นาที
อาการผิดปกติของมารดาที่ควรมาพบแพทย์ก่อนวันที่แพทย์นัด
- แผลฝีเย็บหรือแผลผ่าตัดบวมแดง อักเสบ เป็นหนอง
- มีไข้หนาวสั่น
- ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะแสบขัด
- น้ำคาวปลามีปริมาณมากขึ้น สีแดงเข้มขึ้น มีกลิ่นเหม็นผิดปกติ
การคุมกำเนิด
หลังคลอดควรงดการมีเพศสัมพันธ์ถึงวันที่แพทย์นัด ตรวจหลังคลอด 8 สัปดาห์ แพทย์มีการให้คำแนะนำ เรื่อง การคุมกำเนิด ว่าควรเลือกวิธีใดที่เหมาะสม เช่น ยาเม็ดคุมกำเนิด ยาฉีด ยาฝังคุมกำเนิด
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยงขณะให้นมบุตรขณะให้นมบุตรควรงดดื่มชา กาแฟ เครื่องดื่มที่มี แอลกอฮอล์ยาขับเลือดทุกชนิด และอาหารรสจัด ไม่ควรซื้อยารับประทานเอง ถ้าจำเป็นต้องทานยา ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
วิธีเก็บรักษานมแม่
- ตั้งทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้อง เก็บได้ 3-4 ชม.
- กระติกน้ำแข็ง 24 ชม. ตู้เย็นช่องธรรมดา 3-8 วัน
- ช่องแช่แข็งตู้เย็นประตูเดียว 2 สัปดาห์
- ตู้เย็นช่องแช่แข็ง 2 ประตู 2 – 4 เดือน
- ตู้เย็นชนิดพิเศษ 6-12 เดือน
หลักการนำนมที่แช่แข็งไว้มาใช้
ให้แช่ในน้ำธรรมดาให้เป็นอุณหภูมิปกติแล้วเปลี่ยน เป็นแช่น้ำอุ่น ห้ามใช้น้ำร้อนจัดหรือไมโครเวฟ เพราะ จะทำลายเซลล์มีชีวิตที่อยู่ในน้ำนมแม่น้ำนมที่ละลายแล้วสามารถเก็บในตู้เย็นได้ 24 ช.ม. ไม่ควร นำนมแช่แข็งที่ละลายแล้ว กลับไปแช่แข็งใหม่ น้ำนม แช่แข็งที่ละลายแล้ว อาจมีกลิ่นหืนแต่ไม่เสีย (นอกจากมีกลิ่นรุนแรงมากและมีรสเปรี้ยวจึงจะเสีย)
การตรวจหลังคลอดแพทย์จะนัดตรวจหลังคลอดและตรวจมะเร็งปากมดลูกหลังคลอด 8 สัปดาห์ พร้อมนัดบุตรฉีดวัคซีน
- การดูแผลผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ระวังอย่าให้น้ำซึมเข้าแผล เนื่องจากแพทย์จะปิดพลาสเตอร์หรือกาวกันน้ำให้ก่อนกลับบ้านสามารถอาบน้ำได้โดยให้น้ำไหลผ่าน ห้ามถูแผลหรือแช่น้ำในอ่างอาบน้ำโดยเด็ดขาด หากแผลเปียกน้ำ หรือไม่แน่ใจว่าแผลซึมให้รีบมาโรงพยาบาลทันที - หลังจากที่แพทย์นัดมาตรวจแผล (ประมาณ7วันหลังผ่าตัดคลอด) กลับบ้านควรปล่อยให้แผลแห้งเอง ระวังอย่าแกะ เกาแผล เพราะอาจทำให้แผลเกิดการติดเชื้อได้
- ถ้ามีอาการปวด บวม แดง ร้อน บริเวณแผลผ่าตัดคลอดให้รีบมาโรงพยาบาลหรือสถานีพยาบาลใกล้บ้านทันที
- งดดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ทุกชนิด รวมทั้งอาหารสุกๆดิบๆเพราะอาจทำให้แผลหายช้าและ เกิดการอักเสบติดเชื้อได้
การทำความสะอาดสะดือ ให้ใช้สำลีชุบแอลกอฮอล์ 70% เช็ด หลังอาบน้ำ และทุกครั้งที่ถ่ายอุจจาระ หรือปัสสาวะเปื้อนสะดือ ไม่ควรใช้แป้งทาหรือยาใดๆ ป้ายสะดือก่อนเช็ดสะดือ ควรล้างมือให้สะอาดและเช็ดให้ถึงโคนสะดือ ประมาณ 7-10 วัน สะดือจะแห้งและหลุดเอง หลังจากสะดือ หลุดแล้วต้องเช็ดสะดือต่อจนแผลแห้งดี
อาการผิดปกติของทารกที่ควรมาพบแพทย์ก่อนวันนัด
- ตัวเหลือง ตาเหลือง ซึมลง ไม่ดูดนม
- สะดือติดเชื้อ มีหนอง มีกลิ่นเหม็น บวมแดง
- อาเจียน เนื่องจากกระเพาะอาหารมีขนาด จำกัดอาจมีการอาเจียนได้ควรจับทารกเรอทุกครั้งหลังทานนม ถ้ามีอาเจียนพุ่งออกทุกครั้งที่ทานนม ควรไปพบแพทย์
- ถ่ายเหลว ปกติทารกจะถ่ายอุจจาระได้หลายครั้ง แต่ต้องมีลักษณะหยาบมีเนื้อปน ถ้าอุจจาระเหลว ปนน้ำมีเลือดหรือมูกปน ให้มาพบแพทย์
- ท้องอืด ควรจับทารกนั่งให้เรอหรืออุ้มพาดบ่าหลัง ให้นมทุกครั้ง ถ้าท้องอืดมาก อาการไม่ดีขึ้นให้รีบ พามาโรงพยาบาล
- ปากหรือลิ้นเป็นฝ้า จากคราบน้ำนมควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำต้มสุกเช็ด ออก หากเช็ดไม่ออกหรือมีเลือดออก อาจเกิดจากเชื้อรา ควรมาพบแพทย์ อย่าใช้ยาป้ายเอง
- มีไข้ ซึมลง ดูดนมได้น้อย
- ตุ่มหนองบริเวณผิวหนัง หรือมีจุดเลือดออก
- ตาแฉะ บวมแดง ให้ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกที่เย็น แล้วเช็ดตา ถ้าไม่ดีขึ้นให้มาโรงพยาบาล
- เขียวขณะกินนมหรือขณะร้อง หอบ รอบปากเขียว คล้ำ อาจมีปัญหาเกี่ยวกับหัวใจ
วัคซีนแรกคลอด
หลังคลอดทารกจะได้รับวัคซีนป้องกันโรคไวรัสตับ อักเสบบีที่ต้นขา และวัคซีนป้องกันวัณโรคที่หัวไหล่ซ้าย หลังฉีด 3-4 สัปดาห์จะมีตุ่มนูนแดง และเป็น ตุ่มหนองขึ้นให้ใช้สำลีชุบน้ำต้มสุกเช็ดเบาๆ ประมาณ 1 สัปดาห์ แผลจะแห้งและมีรอยแผลเป็นเกิดขึ้น